เมนู

ครอบครัว แก่ผู้อาศัยเลี้ยงชีพ แก่ชน
ทั้งสองประเภท กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต เมื่อ
อยู่ครองเรือนโดยธรรม ย่อมยังความยินดี
ให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปทั้งที่มีชีวิต
อยู่ในปัจจุบันแก่สมณพราหมณ์ เทวดา
กุลบุตรนั้นครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว
เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขา
ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.

จบกุมารลิจฉวีสูตรที่ 8

อรรถกถากุมารลิจฉวีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกุมารลิจฉวีสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สชฺชานิ ธนูนิ ความว่า ถือเอาธนูที่ขึ้นสายแล้ว. บทว่า
ภวิสฺสนฺติ วชฺชี ได้แก่ เจ้าวัชชีจักเจริญ. บทว่า อปาฏฺภา ความว่า
อาศัยความไม่เจริญ เป็นผู้กระด้างเพราะมานะ. บทว่า ปจฺฉาลิยํ ขิปนฺติ
ความว่า เดินไปข้างหลังแล้วเตะหลัง. ในบททั้งหลายมีบทว่า รฏฺฐิกสฺส
เป็นต้น ผู้ชื่อว่า รัฏฐิกะ เพราะกิน [ปกครอง] แว่นแคว้น. ผู้ชื่อว่า
เปตตนิกะ เพราะกิน [ปกครอง] ทรัพย์มรดกที่บิดาให้ไว้. ผู้ชื่อว่า เสนาบดี
เพราะเป็นเจ้าเป็นใหญ่แห่งกองทัพ [นายพล]. บทว่า คามคามิกสฺส คือผู้
เป็นหัวหน้าหมู่บ้านของชาวบ้านทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้ปกครองหมู่บ้าน. บทว่า

ปูคคามณิกสฺส คือหัวหน้าหมู่. บทว่า กุเลสุ คือในตระกูลนั้น ๆ. บทว่า
ปจฺเจกาธิปจฺจํ กาเรนฺติ คือ ครอบครองอธิปัตย์ความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว.
บทว่า กลฺยาเณน มนสา อนุกมฺปนฺติ คือ อนุเคราะห์ด้วยจิต
อันดีงาม. บทว่า เขตฺตกมฺมนฺตสามนฺตสโพฺยหาเร ได้แก่ ชนผู้เป็น
เจ้าของที่นาติดกับของตนโดยรอบของชาวนา และพนักงานรังวัดที่ถือเชือก
และไม้วัดพื้นที่. บทว่า พลิปฏิคฺคาทิกา เทวตา ได้แก่ อารักขเทวดาที่
เชื่อถือกันมาตามประเพณีของตระกูล. บทว่า ตา สกฺกโรติ ได้แก่ กระทำ
สักการะเทวดาเหล่านั้น ด้วยข้าวต้มแสะข้าวสวยอย่างดี.
บทว่า กิจฺจกโร คือ เป็นผู้ช่วยกระทำกิจที่เกิดขึ้น. บทว่า เย
จสฺส อุปชีวิโน
ได้แก่ ชนผู้เข้าไปอาศัยกิจนั้นเลี้ยงชีพ บทว่า อุภินฺนํ-
เยว อตฺถาย
ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนแม้ทั้งสอง.
บทว่า ปุพฺพเปตานํ คือ ผู้ไปสู่ปรโสกแล้ว. บทว่า ทิฏฐธมฺเม จ ชีวตํ
คือ ญาติผู้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงญาติทั้งหลายใน
อดีตและปัจจุบันแม้ด้วยบททั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปีติสญฺชนโน
คือ ให้เกิดความยินดี. บทว่า ฆรามาวสํ แปลว่า อยู่ครองเรือน. บทว่า
ปุชฺโช โหติ ปสํสิโย ความว่า ย่อมเป็นผู้อันเขาพึงบูชา และพึงสรรเสริญ.
จบอรรถกถากุมารลิจฉวีสูตรที่ 8

9. ปฐมทุลลภสูตร


ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสำหรับผู้บวชเมื่อแก่


[59] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม
5 ประการ หาได้ยาก ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย